ค้นหาบล็อกนี้

7/13/2555

การ์ดจอ vga card

การ์ดจอ หรือ vga card ตามแบบชาวบ้านอย่างเราๆเรียกกัน แล้วมันคืออุปกรณ์ประเภทไหน ทำงานอย่างไร ติดตั้งอยู่ตรงจุดไหนของเมนบอร์ด ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ การ์ดจอกันก่อน การ์ดจอหรือการ์ดแสดงผล คือสว่นมที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้รับจาการประมวลผลของคอมฯมาแสดงบนจอภาพ โดยที่จอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจาการ์ดแสดงผลอีกที่หนึ่ง ซึ่งการ์ดจอ และจอภาพต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพออกมาแสดงบนจอภาพ ซึ่งในปัจจุบัน เราจะเห็นมีเพียง 2 ประเภท ได้แก่ 1. การ์ด แบบ slot pci(Peripheral Component Interconnect) 2.แบบ slot agp(Accelerated Graphic Port) แต่ถ้าเปรียบเทียบคุณภาพระหว่างทั้งสอง แบบ slot agp จะให้คุณภาพออกมาดีกว่า slot pci โดยมันจะเร่งความเร็วในการแสดงกราฟิก ทั้งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติและมีเพิ่มหน่วยความจำบนตัวการ์ดเพื่อให้ได้คุณภาพออกมาดี เพื่อทำหน้าที่แทน cpu เป็นการลดภาระให้แก่cpu เป็นอย่างมาก หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
หน่วยความจำ การ์ดแสดงผลจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งาน เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผล บางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ด โดยทำหน้าที่ในการ ประมวลผลภาพ แทนซีพียูไปเลย ช่วยให้ซีพียูมีเวลาว่ามากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น เมื่อได้รับข้อมูลจากซีพียูมาการ์ดแสดงผล ก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง ถ้าการ์ดแสดงผล มีหน่วยความจำมากๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพ มีความเร็วสูงขึ้น และหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงก็ยิ่งดี เพราะจะมารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ยิ่งถ้าข้อมูล ที่มาจากซีพียู มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อรองรับการทำงานได้โดยไม่เสียเวลา ข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่ๆ นั่นก็คือข้อมูลของภาพ ที่มีสีและความละเอียดของภาพสูงๆ ความละเอียดในการแสดงผล การ์ดแสดงผลที่ดีจะต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดสูงๆ ได้เป็นอย่างดี ความละเอียดในการแสดงผลหรือ Resolution ก็คือจำนวนของจุดหรือพิเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไป แสดงบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมาก ก็ทำให้ภาพที่ได้ มีความคมชัดขึ้น ส่วนความละเอียดของสีก็คือ ความสามารถในการแสดงสี ได้ในหนึ่งจุด จุดที่พูดถึงนี้ก็คือ จุดที่ใช้ในการแสดงผล ในหน้าจอ เช่น โหมดความละเอียด 640x480 พิกเซล ก็จะมีจุดเรียงตามแนวนอน 640 จุด และจุดเรียงตามแนวตั้ง 480 จุด โหมดความละเอียดที่เป็นมาตราฐานในการใช้งานปกติก็คือ 640x480 แต่การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่ สามารถที่จะแสดงผลได้หลายๆ โหมด เช่น 800x600, 1024x768 และการ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะ สามารถแสดงผลในความละเอียด 1280x1024 ส่วนความละเอียดสก็มี 16 สี, 256 สี, 65,535 สี และ 16 ล้านสีหรือมักจะเรียกกันว่า True color
อัตราการรีเฟรชหน้าจอ การ์ดแสดงผลที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอได้หลายๆ อัตรา อัตราการรีเฟรชก็คือ จำนวนครั้งในการกวาดหน้าจอ ใหม่ในหนึ่งวินาที ถ้าหากว่าอัตรารีเฟรชต่ำ จะทำให้ภาพบนหน้าจอ มีการกระพริบ ทำให้ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ เกิดอาการล้า ของกล้ามเนื้อตา และอาจทำให้เกิดอันตราย กับดวงตาได้ อัตราการรีเฟรชในปัจจุบันอยู่ที่ 72 เฮิรตซ์ ถ้าใช้จอภาพขนาดใหญ่ อัตรารีเฟรชยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้น อัตรารีเฟรชยิ่งมากก็ยิ่งดี คุณสมบัติที่สำคัญของการ์ดแสดงผล 1.หน่วยความจำวีดิโอ(Video Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็ฐข้อมูลที่ได้รับจากcpu เพื่อส่งต่อไปใหกับจอภาพเพื่อทำการแสดงผล ถ้าการ์ดมีหน่วยความจำมากก็จะรับข้อมูลจาก cpu ได้มาก อีกทั้งยังช่วยให้การแสดงผลบนจอมอนิเตอร์มีความเร็วสูงขึ้น และถ้าใช้หน่วยความจำที่มีความเร็วในการทำงานสูงก็ยิ่งทำให้สามารถรับข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้น 2.บัส(Bus)ระบบบัสในปัจจุบันที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ ระบบบัสแบบ AGP ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สำหรับการ์ดแสดงผลเท่านั้น และมีความเร็วในการทำงานสูงกว่าระบบบัสแบบ PCIเนื่องจากว่าระบบบัสแบบ PCIทำงานช้าเกินไปสำหรับการทำงานด้านกราฟีกแบบ 3 มิติ ที่ต้องใช้ความละเอียดสูงๆ 3.ความละเอียด (Resolution)คือ จำนวนของจุดพิกเซลที่การ์ดสามารถนำไปแสดงผลบนจอภาพได้ ถ้าจำนวนจุดมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ภาพมีความคมชัดยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่จะสามารถแสดงผลได้หลายๆโหมด เช่น 640x480, 800x600, 1024x768, 1280x1024 ในส่วนของความละเอียดของสีจะเริ่มต้นที่ 16, 256, 65,535 สี และ 16 ล้านสีหรือที่เรามักเรียกกันว่า True Color ในการเลือกความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท ถ้าใช้งานปกติทั่วๆไป จะอยู่ที่ 800x600สี 65,535 แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอีอดมากๆ ก็ควรจะใช้ 1024x768 หรือ 1280x1024 สี 16 ล้านสี 4.อัตราการรีเฟรช (Refresh)หมายถึง จำนวนครั้งในการกวาดหน้าจอใหมาใน 1 วินาทีถ้าหากว่าการรีเฟรชต่ำก็จะทำให้ภาพบนหน้าจอกระพริบ ทำให้ดูไม่สบายตา