ค้นหาบล็อกนี้

7/13/2555

การ์ดจอ vga card

การ์ดจอ หรือ vga card ตามแบบชาวบ้านอย่างเราๆเรียกกัน แล้วมันคืออุปกรณ์ประเภทไหน ทำงานอย่างไร ติดตั้งอยู่ตรงจุดไหนของเมนบอร์ด ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ การ์ดจอกันก่อน การ์ดจอหรือการ์ดแสดงผล คือสว่นมที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้รับจาการประมวลผลของคอมฯมาแสดงบนจอภาพ โดยที่จอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจาการ์ดแสดงผลอีกที่หนึ่ง ซึ่งการ์ดจอ และจอภาพต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพออกมาแสดงบนจอภาพ ซึ่งในปัจจุบัน เราจะเห็นมีเพียง 2 ประเภท ได้แก่ 1. การ์ด แบบ slot pci(Peripheral Component Interconnect) 2.แบบ slot agp(Accelerated Graphic Port) แต่ถ้าเปรียบเทียบคุณภาพระหว่างทั้งสอง แบบ slot agp จะให้คุณภาพออกมาดีกว่า slot pci โดยมันจะเร่งความเร็วในการแสดงกราฟิก ทั้งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติและมีเพิ่มหน่วยความจำบนตัวการ์ดเพื่อให้ได้คุณภาพออกมาดี เพื่อทำหน้าที่แทน cpu เป็นการลดภาระให้แก่cpu เป็นอย่างมาก หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
หน่วยความจำ การ์ดแสดงผลจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งาน เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผล บางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ด โดยทำหน้าที่ในการ ประมวลผลภาพ แทนซีพียูไปเลย ช่วยให้ซีพียูมีเวลาว่ามากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น เมื่อได้รับข้อมูลจากซีพียูมาการ์ดแสดงผล ก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง ถ้าการ์ดแสดงผล มีหน่วยความจำมากๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพ มีความเร็วสูงขึ้น และหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงก็ยิ่งดี เพราะจะมารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ยิ่งถ้าข้อมูล ที่มาจากซีพียู มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อรองรับการทำงานได้โดยไม่เสียเวลา ข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่ๆ นั่นก็คือข้อมูลของภาพ ที่มีสีและความละเอียดของภาพสูงๆ ความละเอียดในการแสดงผล การ์ดแสดงผลที่ดีจะต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดสูงๆ ได้เป็นอย่างดี ความละเอียดในการแสดงผลหรือ Resolution ก็คือจำนวนของจุดหรือพิเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไป แสดงบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมาก ก็ทำให้ภาพที่ได้ มีความคมชัดขึ้น ส่วนความละเอียดของสีก็คือ ความสามารถในการแสดงสี ได้ในหนึ่งจุด จุดที่พูดถึงนี้ก็คือ จุดที่ใช้ในการแสดงผล ในหน้าจอ เช่น โหมดความละเอียด 640x480 พิกเซล ก็จะมีจุดเรียงตามแนวนอน 640 จุด และจุดเรียงตามแนวตั้ง 480 จุด โหมดความละเอียดที่เป็นมาตราฐานในการใช้งานปกติก็คือ 640x480 แต่การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่ สามารถที่จะแสดงผลได้หลายๆ โหมด เช่น 800x600, 1024x768 และการ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะ สามารถแสดงผลในความละเอียด 1280x1024 ส่วนความละเอียดสก็มี 16 สี, 256 สี, 65,535 สี และ 16 ล้านสีหรือมักจะเรียกกันว่า True color
อัตราการรีเฟรชหน้าจอ การ์ดแสดงผลที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอได้หลายๆ อัตรา อัตราการรีเฟรชก็คือ จำนวนครั้งในการกวาดหน้าจอ ใหม่ในหนึ่งวินาที ถ้าหากว่าอัตรารีเฟรชต่ำ จะทำให้ภาพบนหน้าจอ มีการกระพริบ ทำให้ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ เกิดอาการล้า ของกล้ามเนื้อตา และอาจทำให้เกิดอันตราย กับดวงตาได้ อัตราการรีเฟรชในปัจจุบันอยู่ที่ 72 เฮิรตซ์ ถ้าใช้จอภาพขนาดใหญ่ อัตรารีเฟรชยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้น อัตรารีเฟรชยิ่งมากก็ยิ่งดี คุณสมบัติที่สำคัญของการ์ดแสดงผล 1.หน่วยความจำวีดิโอ(Video Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็ฐข้อมูลที่ได้รับจากcpu เพื่อส่งต่อไปใหกับจอภาพเพื่อทำการแสดงผล ถ้าการ์ดมีหน่วยความจำมากก็จะรับข้อมูลจาก cpu ได้มาก อีกทั้งยังช่วยให้การแสดงผลบนจอมอนิเตอร์มีความเร็วสูงขึ้น และถ้าใช้หน่วยความจำที่มีความเร็วในการทำงานสูงก็ยิ่งทำให้สามารถรับข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้น 2.บัส(Bus)ระบบบัสในปัจจุบันที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ ระบบบัสแบบ AGP ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สำหรับการ์ดแสดงผลเท่านั้น และมีความเร็วในการทำงานสูงกว่าระบบบัสแบบ PCIเนื่องจากว่าระบบบัสแบบ PCIทำงานช้าเกินไปสำหรับการทำงานด้านกราฟีกแบบ 3 มิติ ที่ต้องใช้ความละเอียดสูงๆ 3.ความละเอียด (Resolution)คือ จำนวนของจุดพิกเซลที่การ์ดสามารถนำไปแสดงผลบนจอภาพได้ ถ้าจำนวนจุดมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ภาพมีความคมชัดยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่จะสามารถแสดงผลได้หลายๆโหมด เช่น 640x480, 800x600, 1024x768, 1280x1024 ในส่วนของความละเอียดของสีจะเริ่มต้นที่ 16, 256, 65,535 สี และ 16 ล้านสีหรือที่เรามักเรียกกันว่า True Color ในการเลือกความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท ถ้าใช้งานปกติทั่วๆไป จะอยู่ที่ 800x600สี 65,535 แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอีอดมากๆ ก็ควรจะใช้ 1024x768 หรือ 1280x1024 สี 16 ล้านสี 4.อัตราการรีเฟรช (Refresh)หมายถึง จำนวนครั้งในการกวาดหน้าจอใหมาใน 1 วินาทีถ้าหากว่าการรีเฟรชต่ำก็จะทำให้ภาพบนหน้าจอกระพริบ ทำให้ดูไม่สบายตา

5/22/2555

คุณสมบัติของเมนบอร์ด

ดังที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อที่แล้ว ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงคุณสมบัติที่สำคัญๆ ของเมนบอร์ดว่ามีอะไรที่เราต้องรู้จักกันบ้าง อย่างแรกก็คือ เสถียรภาพของระบบ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของเมนบอร์ด ถ้าเมนบอร์ดใดไ รุ่นใดก็ตามมีเสถียรภาพไม่ดีก็จะทำให้เครื่องแฮงค์บ่อย โดยเฉพาะเมื่อใช้งานติดต่อกันเป็ฯเวลานานๆแต่เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆสมัยนี้ไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องเสถียรภาพ เพราะได้พัฒนามาอยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกันหมดแล้ว ชิปเซ็ต ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ถือได้ว่ามันเป็ฯหัวใจสำคัญในการทำงานของเมนบอร์ด ชิผเซ็ตเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเมนบอร์ดแต่ละตัวได้เป็นอย่างดี เช่น ถ้าใช้ชิปเซ็ต VIA Apollo 133A เมนบอร์ดตัวนั้นจะสามารถรองรับ ram ได้ถึง 2gb และยัช่วยสนับสนุนการ์ดแสดงผลแบบ AGP ในความเร็วระดับ 2/4x การจัดวางตำแหน่งของอุปกรณ์ เมนบอร์ดที่ดีต้องมีการจัดวางอุปกรณ์แต่ละตัวให้สอดคล้องกับการทำงานให้มากที่สุด เช่น การ วางram ไว้ใกล้กับ cpu เพื่อลดระยะทางในการรับส่งข้อมูลระหว่าง ram กับ cpuการวาง slot ต่างๆให้สามารถใส่อุปกรณ์หรือการ์ด ต่างๆได้สะดวก ชนิดของเมนบอร์ด ดังที่กล่าวไปในโพสต์ข้างต้นนั้น ชนิดของเมนบอร์ด จะสามารถแล่งออกได้เป็ฯ 2 ชนิด ใหญ่ ๆคือ 1. บอร์ด แบบ AT กับ 2.บอร์ด แบบ ATX อันที่จริงแล้วบอร์ดทั้งสองชนิดเราสามารถใช้งานได้ ขึ้นอยู่กับการที่เราจะนำมาใช้งาน แต่ในปัจจุบัน บอร์ดแบบ ATX ได้รับการพัฒนาในเรื่องการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆบนเมนบอร์โห้มีความเหมาะสมกับการทำงานและมีการวาง cpu ไว้ใกล้กับ power supply เพื่อช่วยระบายความร้อนให้กับ CPU อีกทั้งยังได้พัฒนานำเอาบอร์ดอนุกรมและพอร์ดขนานมาไว้บนเมนบอร์ด จึงทำให้บอร์ดแบบนี้ได้รับความนิยมอย่างมากจนถึงปัจจุบันจึงส่งผลให้บอร์ดแบบ AT เกือบจะไม่ค่อยมีใครนำมาใช้แล้ว แต่ก็อาจจะมีบ้างในตลาด สำหรับผู้ที่นิยมของเก่าอยู่ ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบมากของเมนบอร์ดแบบ AT 1.ตำแหน่งของ ram อยู่ห่างจาก cpu มากทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่าง ram กับ cpu ไม่สอดคล้องต่อการทำงาน 2.ตำแหน่งของ Port ต่างๆทีอยู่กับเคสคอม ต้องใช้สายเพื่อมาต่อเชื่อมกับเข้ากับเมนบอร์ด 3.การถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างทำได้ยาก เพราะตำแหน่งของSlot ต่างๆวางแบบไว้สลับซับซ้อน 4.การระบายความร้อนขาดประมิทธิภาพ เนื่องจากการระบายความร้อนไม่สามารถออกไปข้างนอกได้ ทำให้เกิดความร้อนสะสมอยู่ภายในตัวเคส ข้อดีของเมนบอร์ดแบบ ATX 1.ตำแหน่งของ ram กับ cpu อยู่ใกล้กัน ทำให้จึงประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น 2.Port ต่างๆจะถูกติดตั้งอยู๋บนเมนบอร์ดเลย ไม่ต้องใช้สายอื่นๆมาต่อพ่วง ลดการซับซ้อนในการต่อ 3.สามารถใส่การ์ดที่มีขนาดยาวได้ เพราะไม่มีอุปกรณ์ใดๆมาขัดขวาง 4.Port Floppy disk,Harddisk,etc.จัดวางอยู่ในตำแหน่งที่ติดตั้งได้ง่ายโยไม่ต้องลากสายสัญญาณไปไกล ทำให้ลดความยุ่งยากในการเดินสายไฟ 5.การระบายความร้อนทำได้ดีเพราะตำแหน่งของ cpu กับ Power supply อยู่ใกล้กัน 6.ขนาดของบอร์ดเล็กลง ระบบบัส (System Bus)คืออะไร บัสคือ เส้นทางเดินของข้อมูลทีต่อเชื่อใปยังอุปกรณ์ต่างๆ เปรียบเสมือนถนน ที่ให้รถยนต์นำข้อมูลส่งต่อไปยังส่วนอื่นๆบนเมนบอร์ด อันได้แก่ ISA (ระบบนี้ไม่ค่อยนิยมใช้แล้วในปัจจุบัน แต่ก็ยังพอหาดูรูปได้อยู๋บ้าง)PCI หรือ PCI-E(ทั้ง PCIและPCI-E กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้),AGP(จะใช้กับการ์ดแสดงผลเท่านั้น)และ USB ซึ่งเป็นระบบใหม่และเป็นที่นิยมมากในขนาดนี้ สามารถใช้ต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น กล้อง ดิจิตัล เม้าส์ คีย์บอร์ด External Harddisk อืนๆ เป็นต้น Slot ต่างๆ เป็ฯตัวกลางในการติดตั้งการ์ดต่างๆเข้ากับตัวเมนบอร์ด จะมี การ์ดเสียง การ์ดจอ หรือการ์ดแลนเพื่อป็นการเพิ่มความสามารถให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในปัจจุบันคงเหลือที่นิยมใช้กันอยู่ 2 ประเภท คือ Slot PCI-E กับ Slot AGP ส่วน Slot ISA นั้นก้ยังพอมีเห็นกันอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากนัก Port ต่างๆบนเมนบอร์ดได้แก่ Port PS/2 ใช้สำหรับต่อเม้าส์กับคีย์บอร์ด Port Parallel,Port Serial,Port USB Port

5/16/2555

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์จะแบ่งออกเป็น ภายนอก และ ภายใน อุปกรณ์ภายในส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย 1. เมนบอร์ด ( Motherboard ) 2. ชิปประมวลผลหรือหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU ) 3. หน่วยความจำชั่วคราว หรือที่เรียกว่า แรม ( RAM ) 4. หน่วยความจำหลัก ( Hard disk ) 5. การ์ดเสียง ( Sound card ) 6. การ์ดจอ ( VGA card ) 7. การ์ด แลน และ 8.เคส และ power supply 9. CD-rom และ DVD-rom 10. Floppy Disk ในที่นี้อาจจะมีอุปกรณ์อื่นๆต่อพ่วงอีก ทั้งนี้ แล้วแต่ผู้ใช้งาน ภายนอก จะประกอบไปด้วย 1. จอคอมพิวเตอร์ ( Monitor ) ทั้งแบบ crt และ LED ในปัจจุบันพัฒนาจนสามารถต่อเข้ากับ โทรทัศน์ที่บ้านได้แล้ว 2.เครื่องปริ้นเตอร์ ( Printer ) 3. คีย์บอร์ด (Keyboard ) 4. เม้าส์ ( Mouse ) 5. อุปกรณือื่นๆ เช่น ลำโพง และ External Drive ต่างๆ ต่อไปจะพูดถึงส่วนประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์ อย่างละเอียด 1. เมนบอร์ด ( Mother Board ) แผงวงจรหลัก
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมายแต่ส่วนสำคัญๆ ประกอบด้วย 1. ชุดชิพเซ็ต ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่งเนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์ แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบด้วยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยชิพ 2 ตัว คือชิพ System Controller และชิพ PCI to ISA Bridge ชิพ System Controller หรือ AGPSET หรือ North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูงชนิดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI ชิพ PCI to ISA Bridge หรือ South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอมไออส ฟล็อบปี้ดิกส์ คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน ชุดชิพเซ็ตจะมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่นหลายยี่ห้อโดยลักษณะการใช้งานจะขึ้น อยู่กับซีพียูที่ใชเป็นหลัก เช่นชุด ชิพเซ็ตตระกูล 430 ของอินเทลเช่นชิพเซ็ต 430FX, 430HX 430VX และ 430TX จะใช้งานร่วมกับซีพียู ตระกูลเพนเทียม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต ตระกูล 440 ของอิเทลเช่นชิพเซ็ต 440FX, 440LX, 440EX และชิพเซ็ต 440BX จะใช้งานร่วมกับ ซีพียูตระกูลเพนเที่ยมโปร เพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน และชุดชิพเซ็ตตระกูล 450 ของอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต 450GX และ 450NX ก็จะใช้งานร่วมกับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทูซีนอนสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ระดับ Server หรือ Workstation นอกจากนี้ยังมีชิพเซ็ตจากบริษัทอื่นๆ อีกหลายรุ่นหลายยี่ห้อที่ถูกผลิตออกมา แข่งกับอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต Apollo VP2, Apollo VP3 และ Apollo mVp3 ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin IV+ และ Aladin V ของ ALi และชุดชิพเซ็ต 5597/98, 5581/82 และ 5591/92 ของ SiS สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต Apollo BX และ Apollo Pro ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin Pro II M1621/M1543C ของ ALi และชุดชิพเซ้ต 5601 ของ Sis สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน ซึ่งชิพเซ้ตแต่ละรุ่น แต่ละยี้ห้อนั้นจะมีจุดดีจุดด้อยแตกต่างกันไป
2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่า ซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม ดังนั้นชิพไบออสจึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล แต่ชิพซีมอส จะต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยตลอดเวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้า ก็จะมาจากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด (แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ซึ่งภายในจะบรรจุแบตเตอรรี่แบบลิเธี่ยมขนาด 3 โวลต์ไว้) แต่ตอ่มาในสมัย ซีพียตระกูล 80386 จึงได้มีการรวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว และการที่ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกันของชิพไบออส และชิพซีมอสจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ จึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่จนถึง ปัจจุบัน จึงเห็นได้ว่าเมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ้ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง เทคโนโลยีรอมไบออส ในอดีต หน่วยความจำรอมชนิดนี้จะเป็นแบบ EPROM (Electrical Programmable Read Only Memory) ซึ่งเป็นชิพหน่วยความจำรอม ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้แรงดันกระแสไฟฟ้าระดับพิเศษ ด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Burst Rom และสามาถลบข้อมูลได้ด้วยแสงอุตราไวโอเล็ต ซึ่งคุณไม่สามารถอัพเกรดข้อมูลลงในไบออสได้ ด้วยตัวเองจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการแก้ไขหรืออัพเกรดข้อมูลที่อยู่ในชิพรอมไบออ ส แต่ต่อมาได้มีการพัฒนา เทคโนโลยชิพรอมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแบบ EEPROM หรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล ได้ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดายดังเช่นที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
3. หน่วยความจำแคชระดับสอง หน่วยความจำแคชระดับสองนั้นเป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช เมนบอร์ดในปัจจุบัน เริ่มจากอดีตจนถึงปัจจุบันหน้าตาของเมนบอร์ดและประสิทธิภาพในการทำงานของเมนบอร์ด มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธภาพในการทำงานมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้เมนบอร์ด ที่กำลังเป็นที่นิยมกันก็คงจะหนีไม่พ้นเมนบอร์ดเพนเทียมที่แซงหน้าเมนบอร์ดรุ่น 486 ที่กำลัง จะกลายเป็นเมนบอร์ดที่ถูกทอดทิ้ง เนื่องจากประสิทธิภาพที่เหนือกว่าของเมนบอร์ด เพนเทียม อีกทั้งแนวโน้มที่กำลังมาแรงของเมนบอร์ดเพนเทียมโปรที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกมามาก ขึ้น จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ให้ความสนใจและจับตามองความเคลื่อนไหวอย่าง ต่อเนื่อง เมนบอร์ดที่มีคุณลักษณะที่เรียกว่า ATX Form Factor นั่นก็คือการจัดองค์ประกอบหรือวงจร ต่าง ๆ บนเมนบอร์ดให้มีความกระชับ และเสันทางเดินวงจรใกล้ที่สุด นอกจากนี้ยัง built-in พวกพอร์ตต่าง ๆ ไว้ เช่น Com1, Com2, PS/2 Keyboard, Mouse และ Parallelไว้บน เมนบอร์ดอีกด้วย คุณลักษณะสำคัญ ในการเลือกซื้อ คุณลักษณะ ATX เมนบอร์ดในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบให้มีความกระชับและมีความสามารถ เพิ่มขึ้น ซึ่งเมนบอร์ด ATX นั่นก็คือ เมนบอร์ดที่ออกแบบวงจรให้มีความกะทัดรัดมากขึ้น ซึ่ง จะทำให้มีความเร็วในการทำงานเพิ่มขึ้นประมาณ 10% รวมทั้งส่วนของ I/O Controler ที่มีอยู่ บนเมนบอร์ด และพวกพอร์ตต่าง ๆ เช่น Com1, Com2, PS/2, Parallel port, Mouse, มีติดอยู่กับบอร์ดให้เลย นอกจากนี้ในส่วนของ IR (infrared) Com Port ยังป็นอีกส่วนบนเมนบอร์ดซึ่งจะช่วยในเรื่อง ของการส่งรับข้อมูลโดยผ่านอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบอินฟราเรดอย่างพวกคีย์บอร์ด และ เครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์รุ่นใหม่ ๆ ของ HP ทุกรุ่นจะสนับสนุนการทำงานระบบ อินฟราเรด USB (Universal Serial Bus) ช่องต่อ I/O ที่สามารถต่ออุปกรณ์เพิ่มเติมแบบ Plug & Play ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่าน ข้อมูลสูงสุด 12 Mbและต่ำสุด 1.5 Mb (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม) เมนบอร์ดที่พร้อมด้วยเทคโนโลยี USB (Universal Serial Bus ) ซึ่ง USB ที่ว่านี้เป็น I/O ที่เพิ่มเติมเข้ามาบนเมนบอร์ด สำหรับต่ออุปกรณ์ Plug and Play โดยในส่วนของ USB นี้ จะเป็นการเสริมประสิทธิภาพในการใช้งานเมนบอร์ดเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้สามารถต่อ เชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับพีซีได้อย่างง่ายดาย เช่น การเชื่อมต่อจอภาพ, เครื่องพิมพ์, โมเด็ม, สแกนเนอร์, กล้องดิจิตอล,จอยสติกซ์, ลำโพงดิจิตอล ฯลฯ USB มีความเร็ว (data rate) สูงสุด 12 Mbps และต่ำสุด 1.5 Mbps (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม) นับว่า USB ที่พัฒนาออกมานี้เป็น การประชันกับการ์ด SCSI ซึ่งคาดว่าในอนาคตคงจะเป็นที่นิยมกันมากขึ้น และอาจจะเป็น อีกออปชันหนึ่งที่ถูกพิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ดในอนาคต สำหรับ Mainboard ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว Mainboard จะแบ่งออกเป็นตามรูปแบบชนิดของ CPU ที่ใช้งานดังนี้
Socket 3 สำหรับ CPU 80486 Socket 5 สำหรับ CPU Pentium รุ่นแรก ๆ ที่ความเร็วประมาณ 60-100 MHz
Socket 7 สำหรับ CPU Pentium Classic และ Pentium MMX รวมถึง IBM และ Cyrix ด้วย Super Socket 7 ที่จริงก็คือแบบเดียวกับ Socket 7 นั่นแหละ แต่สามารถทำงานที่บัส 100 MHz ได้ (Socket 7 เดิมจะทำงานสูงสุดที่ 66 MHz)
Socket 370 สำหรับ CPU Celeron โดยเฉพาะ
Slot 1 สำหรับ CPU Celeron รุ่นแรก ๆ และ Pentium II, Pentium III แต่จะมีอุปกรณ์ ตัวแปลง ที่เรียกว่า Slotket เพื่อให้ใช้ CPU แบบ Socket 370 หรือ FC-PGA ให้ใช้งานบน Mainboard แบบ Slot 1 ได้ด้วย Dual Slot คือจะมีทั้ง Socket 370 และ Slot 1 ทั้งคู่ซึ่งพอพบเห็นอยู่บ้าง
socket 478
socket 479
socket 775
socket 1155
socket 1156 อย่างไรก็ตามข้อมูลในตารางนี้อาจจะไม่ได้ละเอียดมากนัก แต่ก็เป็นการแสดงให้เห็นภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงเวลาได้ค่อนข้างชัดเจนพอสมควร
และยังมี socket ที่ ใส่สำหรับ เมนบอร์ด ของ ค่าย AMD ซึ่งจะได้อธิบายในหัวข้อต่อๆไป นอกจากนี้ลักษณะของ Mainboard ยังมีการแบ่งตาม Case หรือระบบ Power Supply ด้วยโดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ AT กับ ATX โดยส่วนใหญ่แล้วหากเป็น Mainboard รุ่นใหม่ ๆ จะทำเป็นแบบ ATX เป็นส่วนมากซึ่งแบบ ATX นี้เท่าที่เคยได้ยินมาจะมีข้อดีกว่าแบบ AT ซึ่งเป็นแบบเก่าคือ ระบบการระบายความร้อนและการไหลเวียนของอากาศดีกว่า ระบบ Power Supply แบบใหม่สามารถสั่ง เปิด-ปิด เครื่องโดยใช้ Software ได้และอื่น ๆ อีกมากครับ อย่าลืมนะครับว่า Mainboard ของแบบ AT กับ ATX ไม่เหมือนกันและใส่ใน Case ต่างชนิดกันไม่ได้ ดังนั้นเวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ควรจะตรวจสอบให้ดีก่อนว่าเป็นแบบใด